บทที่  3

วิธีดำเนินการศึกษา

 

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อสร้างชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์      

3.1        การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

3.2        ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.3        เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

                3.4  การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล

                3.5  การวิเคราะห์และนำเสนอ

 

3.1  การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

      การสร้างชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาปัญหาที่เกิดและองค์ความรู้พื้นฐานหลักการออกแบบสร้างชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยความหมาย  องค์ประกอบ  วิธีการสร้างและประโยชน์ของการสร้างชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์

 

3.2  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

      ผู้ศึกษาได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ทำการประเมินคุณภาพการสร้างชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ คือ  ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบเครื่องจักรกล หรือผู้สอนวิชาการออกแบบเครื่องจักรกล  อย่างน้อย  5  ปีขึ้นไป จำนวน  9  ท่าน 

 

3.3  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

      เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกได้เป็น  2  ชนิด  คือ  ชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ และแบบประเมินคุณภาพ

      3.3.1  ชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์        

 

 

 

ศึกษาข้อมูล

ออกแบบชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์

นำเสนอ อ.ที่ปรึกษา

ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา

สร้างชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิง

ทดลองใช้

ผู้เชี่ยวชาญประเมิน

ผ่าน

ผ่าน

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ไม่ผ่าน

ไม่ผ่าน

เริ่มต้น

สิ้นสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่ 3-1  แสดงขั้นตอนการสร้างชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์

จากภาพมิที่ 3-1 เป็นแผนภิมแสดงขั้นตอนการออกแบบและการสร้างเครื่องชุดฝึกปฏิบัติ งานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ทำการออกแบบและเขียนแบบ   นำแบบเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม ก่อนนำเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์อีกครั้ง    จึงค่อยทำการสร้างชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นทดลองการใช้งานและให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินผล

        3.3.2  แบบประเมินคุณภาพ

                  แบบประเมินคุณภาพ  ผู้ศึกษาเลือกใช้แบบสอบถามระดับความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง  และลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating Scale)  ซึ่งแบ่งออกเป็น  2  ด้าน  คือ  ด้านข้อกำหนดในการออกแบบ  และด้านข้อกำหนดของวัตถุประสงค์การนำไปใช้งาน  โดยผู้ประเมินอ่านข้อความในแบบสอบถามทีละข้อแล้วตอบคำถามตามสภาพจริงโดยการเขียนเครื่องหมาย (P)  ลงในช่องระดับคุณภาพที่กำหนดไว้  5  ระดับ  คือ  มีคุณภาพดีมาก  มีคุณภาพดี  มีคุณภาพพอใช้  มีคุณภาพควรปรับปรุง  และมีคุณภาพต้องปรับปรุงซึ่งมีขั้นตอนการสร้างดังนี้

เริ่มต้น

                 

 

ศึกษาข้อมูล

ร่างแบบประเมิน

นำเสนอ อ.ที่ปรึกษา

ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา

ได้แบบประเมินฉบับสมบูรณ์

ไม่ผ่าน

ไม่ผ่าน

ผ่าน

ผ่าน

สิ้นสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพที่  3-2  แสดงขั้นตอนการสร้างแบบประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้ออิเล็กทรอนิกส์

             จากแผนภาพที่  3-2  สามารถอธิหายลำดับขั้นตอนในการสร้างแบบประเมินคุณภาพชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ดังนี้  ศึกษาข้อมูลจากตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  กำหนดหัวข้อของการประเมิน  โดยให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  จากนั้นผู้ศึกษาร่างแบบประเมิน  นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา  ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ ก่อนที่จะจัดพิมพ์แบบประเมินฉบับสมบูรณ์

 

 

3.4   การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล

       การทดลองใช้ชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้ออิเล็กทรอนิกส์และการเก็บรวบรวมข้อมูล  มีขั้นตอนดังนี้

                1.  เชิญและนัดหมายผู้เชี่ยวชาญจำนวน  9  คน

                2.  ผู้ศึกษาสาธิตวิธีการใช้ชุดฝึกปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้ออิเล็กทรอนิกส์

                3.  ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินคุณภาพตามแบบประเมินที่ผู้ศึกษาเตรียมไว้

                4.  เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ

 

3.5   การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอ

      3.5.1  การวิเคราะห์ข้อมูล  นำผลที่ได้จากแบบประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ  มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยกำหนดระดับคุณภาพดังนี้ 

                                 ค่าเฉลี่ยระหว่าง     4.50 – 5.00     หมายถึง      คุณภาพดีมาก

                                     ค่าเฉลี่ยระหว่าง     3.50 – 4.49     หมายถึง      คุณภาพดี

                                 ค่าเฉลี่ยระหว่าง     2.50 – 3.49     หมายถึง      คุณภาพพอใช้

                                ค่าเฉลี่ยระหว่าง     1.50 – 2.49     หมายถึง      คุณภาพควรปรับปรุง

                                 ค่าเฉลี่ยระหว่าง     1.00 – 1.49     หมายถึง      คุณภาพต้องปรับปรุง

                สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  คือ  ค่าเฉลี่ย  (Mean)  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard deviation)  ซึ่งมีสูตรดังนี้ 

 

 

 

-  คำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) ของผลการประเมินโดยการใช้สูตร

                           

      

                 โดยที่       =   ค่าเฉลี่ย

                             =   ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด

                                    N   =   จำนวนข้อมูลทั้งหมด

-  คำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard  deviation)  ผลการประเมินโดยใช้สูตร

 

                เมื่อ        S.D.       =             ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                                  X          =             ข้อมูลแต่ละจำนวน

                                          =             ค่าเฉลี่ยของข้อมูลแต่ละจำนวน

                                  n           =             จำนวนข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

 

         3.5.2  การนำเสนอข้อมูล  ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลด้านคุณภาพจากแบบประเมินที่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อเครื่องทดสอบปั๊มน้ำ มานำเสนอในรูปแบบตาราง

main manu chapter1 chapter2 chapter 3 Helvetic Helvetic

 

Free Web Hosting